สมาชิกใหม่ของครอบครัว Music Concept Chat Via Facebook , Tel: 02 255 6448 , Line@

8 ทักษะที่พัฒนาจากการตีกลองชุด

drums-player-benefit

ตีกลองชุดช่วยพัฒนาทักษะให้มือกลองอย่างไร

การเล่นดนตรี นอกจากเพื่อความผ่อนคลายแล้วยังเป็นการฝึกฝนวินัยของนักดนตรี และหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆให้กับผู้เล่น ก็คือ กลองชุด ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยพัฒนาศักยภาพทั้งด้านบุคลิกภาพ ความเป็นตัวตน ความกล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำ เสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้เล่น หรือช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านอารมณ์

ในระยะหลังผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนดนตรีตามสถาบัน เพื่อปลูกฝังวินัยในการฝึกซ้อมและสร้างสมาธิให้กับเด็ก และหนึ่งการเรียนดนตรีที่ได้รับความนิยมคือการฝึกตีกลองชุด เพราะการตีกลองชุดต้องแยกประสาทของมือและเท้าออกจากกัน ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะตัวของมือกลองที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและฝึกซ้อมถึงจะได้มา


8 ทักษะที่มือกลองได้รับพัฒนาการ จากการตีกลองชุด

  • ความอดทน การตีกลองชุดต้องอาศัยประสาทหลายส่วนกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ เนื่องจากการใช้งานของกลองแต่ละชิ้นไม่เหมือนกัน นอกจากจะแยกประสาทในการเล่นแต่ละชิ้นแล้วยังต้องแยกประสาทอวัยวะแต่ละส่วนด้วย อาทิ แยกประสาทมือ ประสาทเท้า ประสาทหู และประสาทตา ถ้าไม่มีความอดทนมากจริงๆก็ไม่สามารถตีกลองชุดอย่างมีประสิทธิภาพได้
  • ความมีวินัย การตีกลองชุด ต้องไม่อยู่นอกกรอบของเพลงและจังหวะของเพลง เพราะกลองชุดเป็นตัวควบคุมจังหวะของเพลง ถ้าหากเล่นหลุดจังหวะอาจทำให้วงล่มได้ จึงเป็นการฝึกวินัยที่ดีที่สุดสำหรับผู้เล่น และหากต้องการตีกลองชุดอย่างมืออาชีพ ต้องมีการเขียนตารางในการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง ทำให้ผู้ตีกลองชุดต้องมีวินัยในการฝึกซ้อมอย่างเข้มงวด
  • ความเป็นผู้นำ กลองชุดเป็นเครื่องดนตรีกระทบให้จังหวะ ที่กำกับจังหวะให้เครื่องดนตรีประเภทอื่น โดยมีดนตรีเพียงไม่กี่แนวที่ไม่ใช้กลองในการเล่น แม้จะไม่ได้ใช้กลองแต่ก็ใช้ชิ้นส่วนอื่นๆของกลองชุดในการให้จังหวะแทน กลองจึงเป็นตัวควบคุมจังหวะทั้งหมดของวงดนตรี และให้เสียงที่ชัดเจนที่สุด จึงทำให้ผู้ตีกลองชุดต้องเป็นผู้นำในจังหวะที่แม่นยำ สม่ำเสมอ รวมถึงการขึ้นเพลง ต่อเพลง และควบคุมความต่อเนื่องทั้งหมดของการเล่นดนตรี
  • เก่งในการควบคุม นอกจากความเป็นผู้นำแล้ว กลองยังเป็นเหมือนผู้บริหารจังหวะ ที่ควบคุมทำนองของเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ และยังต้องคอยพยุงจังหวะในกรณีที่เสียงจากเครื่องดนตรีอื่นๆเริ่มเพี้ยนให้กลับมาถูกทำนอง ซึ่งทักษะอันนี้จะช่วยให้มือกลองทำหน้าที่เป็นผู้นำที่ต้องควบคุมการทำงานของผู้อื่น เป็นทั้งผู้นำและผู้ตามที่จะคล้อยตามเสียงดนตรีของผู้อื่นให้บทเพลงที่บรรเลงนั้นบรรลุผลสำเร็จ
  • ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และมีความยืดหยุ่นรวมถึงปรับตัวเก่ง การที่มือกลองตีพลาด ไม่ว่าจะตีเร็วหรือช้ากว่าเครื่องวัดจังหวะ เป็นการบ่งบอกความเป็นมนุษย์โดยแท้ ซึ่งจังหวะของมนุษย์มีความแตกต่างกับจังหวะของนาฬิกาที่มีความแม่นยำ โดยจังหวะของมือกลองนั้นจะอยู่ในรูปของคลื่นเสียง ซึ่งเป็นแบบเดียวกับคลื่นสมอง และคลื่นหัวใจเมื่อคนเราหลับ ดังนั้นการตีจังหวะพลาดแสดงให้เห็นว่า มือกลองทุกคนตีจังหวะตามสัญชาตญาณมนุษย์ ซึ่งเป็นจังหวะที่เครื่องจักรไม่สามารถทำได้ และการแก้ไขให้กลับมาเข้าจังหวะหรือตีจังหวะกลองให้เข้ากับผู้อื่นนั้น เป็นการปรับตัวและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีในเหล่ามือกลอง
  • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ทำนองและจังหวะใหม่ๆเป็นเรื่องท้าทายสำหรับมือกลอง ดังนั้นการนำเสนอแนวดนตรีใหม่ๆจึงเป็นความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก
  • ทำงานเป็นระบบ การตีกลองมีส่วนช่วยพัฒนาให้มือกลองทำงานเป็นระบบ เพราะว่าต้องใช้ประสาทพร้อมกันหลายอย่าง มือต้องตีหูต้องฟัง เท้าต้องเคาะจังหวะ บางจังหวะต้องสลับกันตี และบางจังหวะต้องตีพร้อมกัน ดังนั้น การสร้างระบบหรือจังหวะการตีกลองชุดให้เป็นระบบ เพื่อให้ได้เสียงที่แตกต่างแต่กลมกลืน และนำเสนอเสียงดนตรีให้ผู้ฟังรู้สึกเพลินไปกับกลองที่ตีก็เป็นเรื่องสำคัญ
  • กล้าตัดสินใจ เวลาที่เราตีกลองชุด ต้องตีให้ถูกจังหวะ ทำให้มือกลองต้องตัดสินใจทันทีว่าจะตีกลองใบไหน และกลองเป็นเครื่องให้จังหวะที่เป็นผู้นำของเหล่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น ดังนั้นไม่ว่าจะเล่นดนตรีแนวไหน ช้าหรือเร็ว หยุดหรือเริ่ม มือกลองต่างต้องกล้าตัดสินใจ เพราะทุกคนในวงต่างให้ความหวังไว้ที่เรา

จากที่กล่าวมานั้น เป็นประโยชน์ของการตีกลอง ไม่ว่าจะเป็นการตีกลองชุดหรือเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะ จะเห็นได้ชัดว่ามือกลองอาจมีความสามารถบางอย่างที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยพบว่า มือกลองมีสมองที่อาจจะฉลาดกว่าผู้ที่ไม่ได้ตี เนื่องจากมีการเชื่อมโยงระหว่างสติปัญญา จังหวะการตี และสมองที่ใช้ในการตัดสินปัญหา ซึ่งมีงานสนับสนุนแนวคิดนี้จากนักประสาทวิทยานามเดวิด อีเกลแมน ได้ทำการวิจัยกับ ไบรอัน อีโน นักตีกลองมืออาชีพ และพบว่าสมองของมือกลองแตกต่างจากมนุษย์ทั่วไปถึงแม้ผลวิจัยดังกล่าวอาจไม่สามารถใช้ได้กับมือกลองทุกคนบนโลก แต่สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้คือ ดนตรีมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างแท้จริง

“มือกลองมีสมองที่อาจจะฉลาดกว่าผู้ที่ไม่ได้ตี เนื่องจากมีการเชื่อมโยงระหว่างสติปัญญา และจังหวะการตี”


ก่อนตีกลองชุด มาทำความรู้จักกับกลองชุดขั้นพื้นฐานกัน

ก่อนที่จะเริ่มต้นตีกลองชุด ควรทำความรู้จักกับกลองชุดขั้นพื้นฐานก่อน ซึ่งแต่ละชิ้นของกลองชุดจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามการใช้งาน กลองชุดมีหลายยี่ห้อ หลายขนาด และมีเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกไป แต่กลองชุดโดยทั่วไป จะมีกลองพื้นฐานหลักๆเหมือนกันดังนี้

กลองชุด
  • กลองใหญ่ (Bass drum) ตัวกลองทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้าน เสียงที่เกิดจากกลองชนิดนี้จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ต เป็นกลองที่ให้เสียงต่ำและดังที่สุด นิยมเล่นเป็นเสียงลงจังหวะห้อง และใช้เท้าเล่น
  • กลองทอม (Tom-tom drum) หรือเทเนอร์ดรัม มีขนาดใหญ่กว่ากลองสแนร์ และมีหลายขนาดตามแต่ต้องการ กลองทอมให้เสียงที่แตกต่างกัน โดยแยกเป็นไฮทอม มิดทอม และฟลอร์ทอม สูงไปต่ำตามลำดับ ซึ่งเสียงของกลองทอมสามารถใช้เครื่องจูนเพื่อปรับเสียงได้ด้วย เสียงของกลองทอมมักถูกใช้ในการตีลูกส่ง และช่วยในการโซโล่ ของกลอง
  • ฉาบ  (CrashCymbals) ฉาบมีลักษณะกลม นิยมใช้แบบที่เป็นโลหะประกอบกับขาตั้ง มีหลายแบบ หลายขนาด ซิมบาลส์ใช้ตีเพื่ออัดพลังให้กับลูกส่ง และการโซโล่ของกลอง เป็นการสร้างสีสันให้กับตัวเพลง ส่วนใหญ่แล้วในการควบคุมจังหวะให้กับเพลง ไม่ว่าเพลงแนวไหน การตีซิมบาลส์นั้น มักจะเป็นการตีลงไปหนึ่งครั้ง ไม่นิยมตีอย่างต่อเนื่องหรือพรํ่าเพรื่อมากนัก
กลองสแนร์ (Snare drum)
  • กลองสแนร์ (Snare drum) หรือกลองแต๊ก ถือเป็นหัวใจสำคัญของกลองชุด เพราะเป็นตัวเคาะนับจังหวะห้องให้คนในวงได้รับรู้ กลองสแนร์ให้เสียงที่แน่นและดัง โดยมีแถบเหล็กเล็กๆแขวนไว้ติดกับหน้ากลองด้านล่าง ตัวกลองนิยมวางไว้ระหว่างหัวเข่าทั้งสองด้านของมือกลอง และใช้มือซ้ายเล่นเป็นหลัก

เมื่อทำความรู้จักกับพื้นฐานของกลองชุด และประโยชน์ในการตีกลองชุดแล้ว หากคุณสนใจและต้องการเลือกซื้อกลองชุด สามารถเลือกซื้อได้ที่ https://www.bigtone.in.th/product-category/drum/


0 Comments

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*